Tuesday, March 24, 2015

07 『I can change ~I SEE~』

 เว้นช่วงนานไปหน่อยด้วยปัญหาทางเทคนิคที่แก้ไม่หายของคอมพิวเตอร์ตัวเอง(ฮือ) มาต่อจากเอนทรี่ที่แล้วฮะ

หลังจากความอับอายจากการเขียนรอบแรก คราวนี้ได้แก้ตัวด้วยการอ่านการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่นหลายคนแล้วนำคำศัพท์หรือวลีที่น่าสนใจมาอ้างอิงปรับใช้แก้ไขฉบับของเรา เอาไอ้ที่ยาวยืดเอนทรี่ที่แล้วนั่นมาแก้ใหม่ ได้มาแบบนี้

 ホテルのロビーに、少年と新聞を広げて読んでいたおじさんが座っていました。少年がぼんやりしていると、柱を背にして地図を広げている外国人と目が合ってしまいました。どうやら、観光人らしく道に迷っているようです。すると、その外国人はにっこり笑い、道を聞きたそうな表情で少年に「つつつつつッ」歩み寄ってきました。「やばい!」という表情の少年は、自分だってこの地に詳しいわけではないのか英語が話せないのか、面倒が起こる前に逃げたくなるでしょう。どこかうまく逃げられている場所はないでしょうか。ああ、ありました。なんと、少年は隣のおじさんが広げている新聞の中に隠れてしまいました。もちろん、そのおじさんは少しびっくりしましたが、その外国人は言葉を失っていたほど驚いている表情がありました。

  ใช่แล้ว นำมาปรับใช้ของเราคือเห็นอะไรของใครน่าคว้าก็จับของคนนี้นิดคนนั้นหน่อยมามิกซ์เหี้ยนเลยนั่นเอง๕๕๕๕๕ กลายเป็นโกโก้ครั้---เอ้ย... อาจจะไม่ใช่ฉบับที่ดีเด่อะไร แต่ส่วนตัวคิดว่าดีขึ้นกว่าแบบเดิม(มาก)๕๕๕

  เพราะเรียงรูปประโยคกับไวยากรณ์ส่วนใหญ่ใหม่เกือบทั้งหมด อะไรที่ยืมคนญี่ปุ่นมาใช้แล้วเห็นว่าดีเห็นว่างามเนี่ยก็จะขอชี้จุดเพิ่มเติมจากคราวก่อนเฉพาะที่เห็นได้ชัดๆ แทน

  ไฮไลท์เหลือง = คำศัพท์ที่คิดว่าน่าสนใจ ใช้แล้วประโยคสั้นลงแต่ได้ใจความขึ้นเยอะ 
★ ぼんやり 
        ทีแรกนั่งพิจารณาอยู่ตั้งนานว่าหมอนี่มันนั่งทำอะไรน้าาาาา จะอธิบายไงให้เพื่อนเก็ทกับฉันดีน้าาาาาา นั่งเฉยๆ ไงนั่งเฉยๆ แต่ไม่ค่อยจะเห็นภาพ หน้าอึนๆ มึนๆ อย่างนี้ เออ ก็นั่งเหม่อไง ボーとしている、ぼんやりしている แต่นึกไม่ออกไง๕๕๕ พอใส่คำนี้เข้ามาแล้ว โอเค จบ ชัดเลย

★ 柱を背にして ยืนพิงเสา
         นี่ก็อีกคำ จะให้เพื่อนนึกภาพนักท่องเที่ยวฝรั่งที่ยืนพิงเสาอยู่ฝั่งตรงข้าม โอคำขยายยาวเป็นหางว่าว พูดอะไรก่อนดี เจอวลีนี้ที่ใช้คำสั้นๆ แต่ช่วยเรียงประโยคให้สั้นกระชับขึ้น และคิดว่าน่าจะได้จำไปใช้อีกหลายสถานการณ์

★ 広げている กางงงงงง
         เป็นคำที่ไม่ได้นึกถึงเลยแม้แต่น้อย๕๕๕ นึกภาพคนจะอ่านหนังสือพิมพ์ อ่านแผนที่ เลเวลระดับเราก็ 読んでいた อย่างเดียวพอ เย่ แต่พอใส่คำนี้เข้ามา นอกจากจะกางหนังสือพิมพ์แล้วยังกางแผนที่สู่โลกใหม่ให้เราด้วย โอออออ ยิ่งใหญ่เหลือเกิน ปกติ 広げている จะนึกถึงแต่พวกข่าวการเมืองสังคมระหว่างประเทศ โน่นนี่ได้ขยายตัวออกไป ฯลฯ อะไรแบบนี้ ใช้กับหนังสือพิมพ์ก็ได้ลูก กางไปนะกาง!!!

★ にっこり笑い เตเฮะ☆
          อ่านเจอคำนี้ปุ๊บก็ตั้งใจว่าต้องใช้ให้ได้! ก็หน้าคุณลุงฝรั่งแกยิ้มพิมพ์ใจแป้นแล้นขนาดนั้น 

★ 歩み寄って(あゆみよって)
          เป็นคำใหม่สำหรับเรา ทีแรกก็พยายามจะอ่านเป็นฮะชิริ? ฮะชิริมิ?? อะไรอยู่ตั้งนาน (อย่าแซว อาย..) มันคือการสาวเท้าฉับๆ เข้ามาหาใครสักคน ซึ่งก็ตรงกับกริยาของลุงฝรั่งแกดี 


  ไฮไลท์ฟ้า = คำช่วย/เชื่อมที่เพิ่มมา
☆ どうやら ตามด้วย みたい、よう ไว้ใช้กับการคาดคะเน สะดวกดี
☆ すると ออกมาจากวังวนそしてและそれでมากมายได้สักที 
☆ なんと ใช้กับเวลาจะพูดถึงเรื่องที่เกินความคาดหมาย แฝงอารมณ์ตกใจ ประมาณนั้น 


  ไฮไลท์สีชมพู = คำแสดงเสียง/อารมณ์
★ つつつつつつ เสียงตอนเดิน 歩み寄ってくる เข้ามา ฉับๆๆๆ เลยทีเดียว //แต่ไม่ต้องมี ッ นะ อาจารย์ติงมา ที่เราใส่ไปเพราะนึกถึงオノマトペในการ์ตูนที่จะต้องมี 「ッ!」ใส่มาประกอบให้มันดูเทนชั่นทาค่ายยยยยย!!! เฉยๆ...

★ やばい! หน้า少年  เอ่อ ペエスケ君สินะ มันแสดงออกชัดเจนมากว่าแย่แล้วแย่แน่ๆ พอรู้ว่าใส่อารมณ์ตัวละครลงไปด้วยได้ เลยไม่พลาดที่จะต้องใส่

★☆★
คอมที่หอติดๆ ดับๆ เดี๋ยวใช้เน็ตได้เดี๋ยวไม่ได้ ตอนนี้ใช้ได้(น่าจะชั่วคราว)ต้องรีบใช้๕๕๕
เจอกันเอนทรี่หน้าฮะ
では、また★

Saturday, March 21, 2015

06 『I can change ~Be myself~』

** ก่อนหน้านี้มีปัญหากับหน้าบล็อกเรานิดหน่อยทำให้เอนทรี่ที่ผ่านๆ มาโดนซ่อนไว้ 
ตอนนี้กดอ่านได้ตามปกติแล้วฮะ

ก่อนหน้านี้ในคาบเรียน มีกิจกรรม Story telling หรือเล่าเรื่องราวที่เราเห็นให้อีกฝ่ายฟัง 
จุดประสงค์คือให้อีกฝ่ายเข้าใจและนึกภาพตามไปได้ ดังนั้นกุญแจสำคัญอยู่ที่ตัวผู้เล่า 
ถ้าเล่าเรื่องไม่ปะติดปะต่อ เยิ่นเย้อ หรือเลือกใช้คำไม่ถูก ก็จบกัน

บล็อกในวันนี้มาในธีม I・CAN・CHANGE!!!(เอนจ์ เอนจ์ เอนจ์.../เอคโค่) โดยเอา progress ที่ผ่านๆ มาตั้งแต่เริ่มทำกิจกรรมนี้นี่แหละมารายงาน ซึ่งเอนทรี่นี้เป็นพาร์ทแรกเท่านั้น

เรากับคู่ของเราจะสลับกันเล่าคนละเรื่อง เรื่องของเราคือ 外国人 เรื่องราวตามที่เห็นนี้


(แหล่งที่มาของการ์ตูนสี่ช่อง)


★☆★


เล่าเป็นภาษาไทยมันก็โอเคอยู่หรอก แต่พอให้เล่าเป็นญี่ปุ่นเท่านั้นแหละ ทำใจและตั้งสติอยู่สักพักจนเพื่อนต้องทัก...จึงเริ่มกดปุุ่มอัดเสียง
และนี่คือสคริปต์ที่ได้จากการแกะเทปครั้งแรก พยายามแล้วที่จะไม่บิดเบือนจากของจริงใดๆ สดมายังไงก็อย่างนั้น เพราะพอมาฟังที่ตัวเองพูดแล้วอยากแก้ใจจะขาด๕๕๕๕ฮือ


あの、話したいことがあります。(なになに?)この前、私はホテルにいました。それで、二人の男の人が、ホテルのロビーのソファーに座っていました。(へえー)左側の座っていた男の人はメガネをかけて、新聞を読んでいました。ああ、左側?)はい。あのー(左側の・・・ソファの・・)あ、はい。ソファの左側(ああ、そう。)あ、でも私の、あのう・・私からの左側ですね。男の人なら右になります。(ああ・・・)かりますね。(はい。分かります。)そして、もう一人の男の人はなんか、最初の男より若くて、右側に座っていました。(ああ)それで、この若い男の人は、なんか、向こう側は、柱があります。(えっ、ちょっと、若いの人は誰だっけ。)若いの人は私から右側(右側!ああ・・新聞読んでいません?)ああ、はい。読んでいない。そしてメガネもかけていない。(あ、はい。)ええと、向こう側は外国人がいました。(ああ)その外国人は、ええー・・・ツアーリストは日本語でなんだっけ。(あ~ ツアーリストみたい)はい。ツアーリストみたいな外国人です。そして、町の地図を見ていました。はい。そして、向こう側の外国人と、若いの男の人はなんか、目、目を・・・目に合って?)はいはい。目に合ってます。ええと、キラッ!っていう感じで、(おお・・・)そして、目に合ってから、すぐに、外国人は男の人にすぐ歩いて行きます。(ああ!)なんか、道を聞きたいと思っています。(あ、迷い子かな~)はい。あの外国人は道を知りたいそうですね。でも、なんか、若いの男の人は、びっくりして、外国人が苦手かなっと思います。英語とか話せないとか、とにかく苦手な顔をして(はあ・・)それで、最後は、いや、隣の新聞を読んでいた男は、まだ覚えています?(はい。覚えています。)はい。あの若いの人は、隣に、あの、メガネをかけている人に近くして、(ああ!)なんか、新聞を、自分のことを隠しようと・・・うおお、ああ!わかった)しました。はい。外国人から隠した。面白い!外国人はちょっと怖いな)その外国人はなんか、「へえー、何だそれ・・・」(ああ、そんなに私と話したくないか?と思って)はは。なんか可哀想。(可哀想なあ、迷っているのに)  


ข้อสังเกตที่พบในครั้งนี้

1. 日本語力が足りない!!อันนี้มันแน่นอนwwww それは当然だ! 
จะคำศัพท์เอย ไวยากรณ์เอย คำเชื่อมเอย ปกติตอนเขียนก็เขียนไม่ค่อยจะได้อยู่แล้วพอยิ่งให้เล่าเรื่องมันก็พูดตามที่คิดไม่ได้ดังใจ 
2.  ยาว.... คือเราเล่าจากการมองภาพการ์ตูนใช่ไหม เพราะงั้นเลยติดความคิดที่ว่า [มันต้องอธิบายให้ละเอียดสิไม่งั้นจะเห็นภาพได้ไง] บางช่วงเลยกระจุกอยู่แต่จะอธิบายฉาก จนบางทีส่งผลให้เรื่องยืดเยื้อไม่ปะติดปะต่อ คนฟังก็งง คนพูดยิ่งงง(ฮา) 
3. สำนวนต่างๆ ที่อยากใช้ตอนพูดแต่นึกไม่ออก เช่น "ยืนหลังพิงเสา" "สายตาประสานกัน" "เขยิบเข้าไป"
4. คำเชื่อมมีอยู่ไม่กี่คำ ไม่ それで ก็ そして แค่นี้แหละพี่น้อง
5. อะไรที่พูดไม่ออกบอกไม่คล่องก็จะพยายามมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟังไว้ก่อน เช่น 分かりますね? หรือ 覚えていますか? ส่วนตัวคิดว่าเป็นข้อดีที่ควรคงไว้ แต่ต้องระวังไม่ให้มากเกินไป ยังไงก็ควรเพิ่มความมั่นใจในการเล่าเรื่องของเราให้มากขึ้น



★☆★

เอนทรี่เป็นเพียงพาร์ทแรก ติดตามพาร์ทต่อไปกับ I See ในเอนทรี่หน้านะฮะ



つづく


(ただ、一度こう書いてみたかっただけ・・・

Thursday, March 5, 2015

05 (♪)【坂道のメロディ】

อยู่ๆ ก็เกิดอยากดูอนิเมเมื่อหลายปีที่แล้วขึ้นมา


เรื่อง Sakamichi no Apollon 
ธีมหลักของเรื่องคือดนตรีแจ๊ส สำหรับเราที่ชอบอนิเมดนตรีอยู่แล้วถูกโฉลกมาก
เพื่อนชวนดูครั้งแรกตอนม.4 เพิ่งดูไป 4-5 ตอนเอง มาตอนนี้จำเนื้อเรื่องไม่ค่อยได้แล้ว จำได้แค่ว่าสนุกมาก และมีรักหลายเส้ามาก๕๕๕

พอดีไปเจอเพื่อนคนหนึ่งแชร์ลิ้งค์ Youtube หนึ่งในฉากเด็ดในเรื่อง เลยคิดถึงขึ้นมา 
ผลคือกลับไปดูใหม่ตั้งแต่ต้นแล้วติดลมดูรวดทั้งคืน 12 ตอนเลยจ้า๕๕๕๕ (งานการไม่ทำ---)
ถ้าเกิดใครสนใจอนิเมเซ็ตติ้งเด็กม.ปลายหลัง WW2 ดนตรีแจ๊ส เนื้อเรื่องดีตัวละครมีปม(ฮา) ไปลองหาดูได้ฮะ รับประกันความสนุกและประทับใจ 

นอกจากเนื้อเรื่องแล้ว ก็มีเพลงเปิดนี่แหละที่ติดหูไม่หลุด
เพลงสวิงๆ ออกแจ๊สแบบนี้เราชอบนัก จากฟังไม่ทันจนตอนนี้ร้องได้คล่องติดปากไปแล้ว๕๕๕


เพราะฉะนั้นสาระวันนี้เราจะมาดู 複合動詞 ในเพลงนี้กัน ผ่าง๕๕๕

YUKI - 坂道のメロディ (Sakamichi no Melody)
坂道のアポロン (Sakamichi no Apollon) OP Single (FULL ver)


坂道のアポロン (Sakamichi no Apollon) (アニメTV OP size)




**Edit พอดีเพิ่งไปได้แท็กสปอยเลอร์ที่ใช้ได้จริงซะทีมา ขอย้ายเนื้อเพลงไปซ่อนในนี้แทน
กดดูเนื้อเพลงเต็มเอานะฮะ บล็อกจะได้ไม่ยาวเกิน เยียห์


坂道のメロディ (Sakamichi no Melody) FULL ver. lyrics

★☆★

                เนื้อเพลงบางที่(ไม่สิ หลายที่๕๕๕)อาจจะดูพิลึกๆ ไปบ้าง แต่ถ้าใครดูจบแล้วจะเก็ทเลยว่าเนื้อเพลงหมายถึงอะไรบ้าง มาจากในเรื่องทั้งนั้น

                ส่วน 複合動詞 ที่เจอในเพลง มีสี่คำ ซึ่งทั้งหมดเป็นคำที่เราคิดว่าในชีวิตประจำวันไม่น่าจะได้ยินบ่อยๆ เท่าไร(แต่ไม่ได้แปลว่าไม่มีใช้นะ) เลยคิดว่าน่าสนใจทั้งสี่คำเลย

 忍び込む(しのびこむ)
 突き刺す(つきさす)
 絡み付く(からみつく)
 見失う(みうしなう)



     『終わらない夏休みみたいねプールに忍び込んでる気分』  
"นี่มันราวกับปิดเทอมฤดูร้อนที่ไม่มีสิ้นสุดเลยนะ ความรู้สึกตอนที่แอบเข้าไปในสระว่ายน้ำเนี่ย"  

忍び込む (しのびこむ)

มาจาก
忍ぶ(しのぶ)= ปกปิดตัวตนของตัวเอง หลบซ่อน
込む(込む)= (กรณีเป็นกริยาช่วย) ใส่เข้าไป

人に気づかれないように、こっそり中に入る。 แอบเข้าไปข้างในโดยไม่ให้ใครรู้
เราสะดุดตาคำนี้เพราะ 忍び นี่เรานึกถึงนินจา ซึ่งก็ใช้คันจิตัวเดียวกันนี่แหละ๕๕๕ รวมกับ 込む ที่ปกติเวลาเอามาใช้ต่อท้ายมักจะหมายถึงการ 'ใส่เข้าไป' หรือเป็นการ 'เน้นย้ำ' กริยาตัวหน้า กลายเป็นนินจาตีนเบาที่แอบบดอดย่องเข้าไปไม่ให้ใครจับได้ พอนึกแบบนี้แล้วรู้สึกว่าจำคำนี้ได้ง่ายขึ้นเยอะ

Ex. 泥棒は家に忍び込んだ มีขโมยแอบย่องเข้าบ้านมาล่ะ



     『この胸を突き刺すビートはストレンジ』 
"จังหวะที่เสียดแทงเข้าไปในอกนี้คือพลัง"

突き刺す(つきさす)

มาจาก
突く(つく)= เสียบ แทง โจมตี
刺す(さす)= เสียบ แทง
แทงแล้วแทงอีกมากๆ คำนี้ หน้าก็แทงหลังก็แทง เพราะฉะนั้นในความรู้สึกเรา จะใช้คำนี้ได้ มันต้องเป็นการแทงที่รุนแรง หรือความหมายมีน้ำหนักมากๆ
ค้นความหมายภาษาญี่ปุ่นได้ว่า 突いて(勢いよく)刺す。ซึ่งเจ้า 勢い(いきおい)นี่มันก็ชี้ชัดว่าต้องเป็นการกระทำที่รุนแรง เห็นสปิริตชัดเจน ทำนองนี้
ส่วนอย่างในเนื้อเพลง กล่าวถึง ビート (beat) หรือจังหวะดนตรีอันน่าประทับใจจนเสียดลึกเข้าไปในจิตใจ อา มันช่างเพราะซึ้งกินใจจริงๆ นะซาร่า มากพอจะเป็น ストレンジ (Strength) ให้ฉันเชียวละเอ้อว์ 

Ex. 彼は敵を突き刺した。เขาแทงศัตรูเต็มแรง



      『行かないで 耳に絡みついてもう離れないよ』
                              "อย่าไปเลยนะ ท่วงทำนองมันติดหูเสียจนเอาออกไปไม่ได้แล้วล่ะ"

絡み付く(からみつく)

มาจาก
絡む(からむ)= พัวพัน อีรุงตุงนัง ยุ่งเหยิง
付く(つく)= ผูกติด / แปะติดกับอะไรบางอย่าง

หมายถึงการพันติดรอบบางสิ่งบางอย่างอย่างแน่นหนา เอาออกไม่ได้ง่ายๆ เช่นพวกเถาวัลย์รอบต้นไม้ก็จะใช้กริยาคำนี้กัน ส่วนในเนื้อเพลง ใช้กับเมโลดี้ที่ "ติดหู" สำนวนไทยก็มีใช้เข้าใจกันทั่วไปเนอะ เพราะฉะนั้นคำนี้ 「耳に絡み付く」เราว่าเราคงได้จำไปใช้อีกแน่นอน เพราะเป็นคนฟังเพลงร้องเพลงด้วย

Ex. つるバラが木に絡み付いている。มีเถากุหลาบเลื้อยพันอยู่รอบต้นไม้



『それはあっという間 見失うの』
         "ถ้าเผลอไผลแม้ชั่วพริบตา เดี๋ยวก็คลาดสายตาไปหรอก" 

見失う(みうしなう)

มาจาก
見る(みる)= มองดู
失う(うしなう)= สูญเสีย

แปลตรงตัวได้ว่าสูญเสียการมองดู ซึ่งก็คือหมายถึง "การคลาดสายตา" หรือพลาดอะไรไป
Ex. 自分を見失えば負ける。ถ้าสูญเสียความเป็นตัวเองไปเท่ากับความพ่ายแพ้ โอ...ตัวอย่างประโยคโคตรเท่เลยเนอะ๕๕๕ แต่จากฐานข้อมูลของ NLB แล้ว สำนวน「自分を見失う」ก็ค่อนข้างจะใช้กันทั่วไป ถามว่าแล้วใช้ 自分を失うได้ไหม? ลองค้นแล้วก็มีใช้อยู่เหมือนกัน แต่กรณี失うนี่ จะเห็นใช้กับ 自信 มากกว่าฮะ

見失う → 自分を見失う สูญเสียความเป็นตัวเอง
失う → 自信を失う สูญเสียความมั่นใจ

เพราะอะไร? เราคิดว่าบางทีคงเกี่ยวกับตัว แบบ ภาพความเป็นตัวเองมันให้ความรู้สึกเป็นรูปธรรม จับต้องได้กว่า ความมั่นใจเพราะฉะนั้นแล้ว ไม่ปรากฏการใช้ 自身を見失う นะฮะ อย่าเอาไปใช้เชียว


★☆★

ก่อนจาก ขอฝากคลิปต้นเหตุที่ทำให้เรากลับไปโต้รุ่งดูจบทั้งซีซั่น 12 ตอนรวดแล้วกัน


ถ้าดูแล้วชักสนใจ อยากได้สปอยล์เนื้อเรื่อง คุยกันต่อในคอมเม้นท์ได้นะฮะ อิห์ ★