Saturday, February 28, 2015

04「枯葉を片付けよう!」

          ปกติคุณหมีขาวเป็นเด็กหอ แต่เสาร์อาทิตย์ถ้ามีเวลาก็กลับบ้านบ้าง
หยุดเสาร์อาทิตย์นี้ได้กลับบ้านหลังจากไม่ได้กลับมานาน แถมท่านแม่ก็ลงกรุงเทพมาพอดี ครอบครัวพร้อมหน้า 
          อย่ากระนั้นเลย เนื่องในโอกาสดี ท่านแม่ที่เคารพจึงมอบภารกิจให้เก็บกวาดซากอารยธรรมใบไม้แห้งในสวนหน้าบ้าน...ซากอารยธรรมนี่หมายความตามนั้นจริงๆ เพราะไม่ค่อยมีใครอยู่บ้าน มันเลยสะสมถมทิ้งมานานมาก 
          ถ้าเอาตามความรู้สึกเราหลังจากพิจารณาดูกองซากใบไม้แห้งหรือ 枯葉(かれは) ตรงหน้านั่นแล้ว
          ...เหมือนถมมานานสักล้านปีได้ เป็นฟอสซิล 

(ภาพประกอบจินตนาการอภินันทนาการจากที่นี่)

หลังทำใจอยู่สักพักก็ลงไปใส่ถุงมือ&กางถุงดำเตรียมพร้อมแต่โดยดี เป็นเด็กดีไง แม่สั่งอะไรก็ทำ (ลองไม่ทำสิ----) ไหนๆ แล้วเลยขอนำเสนอตัวอย่าง 複合動詞 ที่เกี่ยวกับการเก็บกวาดและจัดเรียงให้ดูกัน

① 掃き寄せる (はきよせる) มาจาก
掃く (はく) = ปัดกวาด 寄せる(よせる)= ดันออกไปข้างๆ ความหมายตรงตัวเลย กวาดออกไป 
★ Ex: しろくまおじさんは枯葉を掃き寄せた。 
คุณลุงหมีขาวกวาดใบไม้แห้งออกไปนะจ๊ะ



掃き集める (はきあつめる)
มาจาก
掃く (はく) = ปัดกวาด 集める(あつめる)= สะสม รวบรวม
อารมณ์แบบกวาดขี้ผงมารวมไว้ด้วยกันก่อนแล้วค่อยทิ้งทีเดียว
★ Ex: しろくまおじさんはゴミを掃き集めた。
คุณลุงหมีขาวกวาดขยะมากองรวมกันนะจ๊ะ



掃き出す (はきだす)
มาจาก
掃く (はく) = ปัดกวาด 出す(だす)= ส่งออกมา
กวาด(พวกขยะ)ออกไปข้างนอก ไม่รู้ว่าสำนวนปัดสวะให้พ้นทางจะใช้คำนี้ได้หรือเปล่านะ๕๕๕
★ Ex: しろくまおじさんはゴミを外に掃き出した。 คุณลุงหมีขาวกวาดขยะออกไปทิ้งข้างนอกนะจ๊ะ



  สามตัวอย่างข้างบนเป็นการกวาด ใช้ไม้กวาด แต่เราอินดี้ เราไม่ใช้๕๕๕๕ (อย่าถามนะว่าแล้วตัวอย่างประโยคข้างบนนั่นคืออะไร...)
   ...ไม่ใช่ คือ ใบไม้มันกองถมโหดเกินกว่าจะเอาไม้กวาดกวาดชิลๆ คิ้วท์ๆ ได้ พิจารณาแล้วสองมือพี่นี่แหละน้อง ง่ายกว่า



掻き集める (かきあつめる)
掻く (かく) = ตัก แซะ ช้อนออก 集める(あつめる)= สะสม รวบรวม
ตักเก็บสะสมรวบรวมของที่เกลื่อนกลาดกระจัดกระจายอยู่หลายที่เข้าด้วยกัน ในที่นี้จะใช้กับการเก็บกวาด หรือจะใช้กับการสะสมที่เป็นงานอดิเรกก็ได้นะ
★ Ex: ・ 彼は庭の枯葉を掻き集めた。เขาเก็บรวมใบไม้แห้งในสวน
   ・ 彼は各地の民謡を掻き集めた。เขารวบรวมเพลงพื้นบ้านในทุกท้องถิ่นไว้ด้วยกัน



掻き入れる (かきいれる)
掻く (かく) = ตัก แซะ ช้อนออก 入れる(いれる)= ใส่เข้าไป
ความหมายตรงตัว คือตักหรือเก็บอะไรใส่ในอะไร ใช้กับกวาดเศษขยะลงถังแล้วเห็นภาพมาก
★ Ex: 彼はゴミを箱に掻き入れた。เขาช้อนขยะใส่ลงถัง



拾い集める (ひろいあつめる)
拾う(ひろう)= เก็บขึ้นมา
集める(あつめる)= สะสม รวบรวม เก็บรวมสะสม กับข้อนี้ดูจะเหมาะกับพวกของสะสม เช่นสะสมแสตมป์
แต่กรณีนี้เราอยากจะใช้กับการกวาดใบไม้สไตล์เรา คือมือเปล่ากอบเลยจ้า๕๕๕๕
★ Ex: 彼はいろいろな記念切手を取り集めた。เขาเก็บสะสมแสตมป์ที่ระลึกประจำปีไว้มากมาย



⑦ 取り片付ける (とりかたづける)
取る(とる)= เก็บ/หยิบขึ้นมา
片付ける(かたづける)= จัดเรียง ทำความสะอาด

 ปกติ 片付ける ก็แปลว่าเก็บกวาดให้สะอาดอยู่แล้ว พอใส่ 取り เข้าไปด้วยเลยเห็นภาพการเก็บ/หยิบจับขึ้นมาจัดวางให้เป็นระเบียบ
 Ex: 彼女はおもちゃを取り片づけた。เธอจัดเก็บของเล่นให้เป็นระเบียบ

★☆★

ใช้เวลาราวๆ สองชั่วโมงเศษกอบโกยใบไม้แห้งอย่างมุ่งมั่น ถามว่าเยอะขนาดไหน ถุงดำใหญ่ๆ น่ะคุณ

ใช้ไปสิ 8 ถุง แบบอัดแน่น

  กริยา 1~3 ค่อนข้างจะความหมายคล้ายกัน น่าจะใช้แทนกันได้แล้วแต่บริบท 4 กับ 5 ก็เหมือนกัน เพียงแค่มันไม่ต้องใช้ไม้กวาดเป็นอุปกรณ์
  ส่วน 6 กับ 7 ถ้าจะเอามาใช้ในสถานการณ์ของเราครั้งนี้ ก็คงเป็นอย่างเช่น...

枯葉を拾い集めてからゴミ袋にかきいれた。เก็บรวบรวมใบไม้แห้งกองไว้แล้วค่อยโกยใส่ถุงดำ
詰まっている8つのゴミ箱を外に取り片付けた。หยิบเอาถุงดำเต็มเอี๊ยดทั้ง 8 ถุงไปวางเรียงไว้ด้านนอก

อะไรแบบนี้เป็นต้น

วันนี้ขอจากไปนอนเล่นมองสวนที่สวยโล่งสบายตาขึ้นเยอะก่อนละกัน
では、また☆

Thursday, February 26, 2015

03「遊び暮らし?」


               วันนี้ลองสไลด์สำรวจเว็บ複合動詞ที่เคยรีวิวไว้ในเอนทรี่ที่แล้วเล่นดู แล้วพบกับคำที่คิดว่าน่าสนใจเข้า คำนี้

遊び暮らす

            เห็นทีแรกทุกคนคิดว่ามันจะแปลได้ว่าอะไร? สำหรับเรา ทีแรกเข้าใจว่าก็น่าจะแปลตรงตัว ไม่น่ามีอะไรมากนะ อาศัยอยู่...เล่นๆอยู่กันเล่นๆ อยู่ด้วยกันแล้วก็เที่ยวเล่น...? เอ๊ะ ยังไง เอ้ายิ่งแปลยิ่งงง๕๕๕๕ ดูๆ แล้วอาจจะเป็นสำนวนที่ไม่ใช่คำที่มีใช้บ่อยเท่าไร เพราะที่ผ่านมายังไม่เคยเห็นว่ามีใช้ที่ไหน(หรืออาจเพราะเราไม่เจอเอง๕๕๕) ถ้าเอาความหมาย แปลได้ดังนี้ฮะ



To spend the entire day playing. ให้อารมณ์แบบนั่งหายใจทิ้งไปวันๆ ปล่อยให้เวลาวันหนึ่งหายไปโดยไม่ทำอะไร เอาแต่เล่น (แหม่ เราเองนี่น----) ที่คิดว่าน่าสนใจเพราะพอดูประโยคตัวอย่างแล้ว ดูเป็นสำนวนที่เตือนสติเหล่านักเรียนนักศึกษาได้ดีทีเดียว

“ฉันเสียเวลาหกปีของชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยไปกับการลอยชายเล่นไปวันๆ”

ถ้าไม่อยากต้องมามีบทสรุปชีวิตนิสิตแบบนี้ เห็นทีก็คงต้องตั้งใจให้มากขึ้นเท่านั้นแหละนะ


★☆★
ทีนี้พอลองค้นหาการใช้งานสำนวน 遊び暮らすในที่อื่นๆ อีก พบว่าไม่ค่อยมีตัวอย่างให้เห็นเท่าไรตามคาด พอพิจารณาจากตัวอย่างแล้วก็พอจะสรุปลักษณะการใช้งานได้คร่าวๆ เป็นข้อสังเกตได้ดังนี้ →
(ขอบคุณตัวอย่างประโยคจาก NLB)

  1. ความหมายแรก สามารถแปลตรงตัวได้เลยว่า “อยู่เล่นทั้งวัน” เช่นนั่งเล่นในบ้านทั้งวัน ออกไปเล่นข้างนอกทั้งวัน ความหมายกลางๆ ไม่มีนัยยะซ่อนเร้นอะไร




  2. ความหมายเดียวกันกับตัว อันนี้จะออกไปทางลบ หมายถึงการปล่อยเวลาทิ้งไปเปล่าประโยชน์โดยไม่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน



  3. ดูเหมือนจะใช้เป็นภาษานิยายหรือคำเปรียบเปรยเสียส่วนใหญ่

★☆★

ทั้งนี้ ข้อสังเกตที่ว่ามาเป็นข้อสังเกตของเราเอง ไม่สามารถรับประกันได้ว่าเข้าใจถูกผิดแค่ไหน เพราะฉะนั้นถ้าใครเคยอ่านนิยายหรือเห็นคำนี้ผ่านตาที่ไหน มาร่วมด้วยช่วยแชร์วิธีใช้หรือตัวอย่างประโยคให้กระจ่างแจ้งมากขึ้นก็จะเป็นพระคุณแก่หมีขาวง่อยๆ ตัวนี้ยิ่ง ผิดพลาดอะไรตรงไหนเชิญชี้แจงหรือดึงหูหมี(?)ได้ตามสะดวกฮะ : v :)"


ใกล้สอบมิดเทอมแล้ว ทุกคนพยายามเข้าล่ะ! (บอกตัวเองด้วย๕๕๕๕๕๕ฮือ)

では、大学生生活を遊び暮らしないように。

Saturday, February 21, 2015

02 《Review》『関連技術っていいな・・・』

สวัสดี วันนี้พบกับหมีขาวที่มาพร้อมความตั้งใจจะทำตัวเป็นค---เอ่อ หมีที่ดีและมีประโยชน์

 เนื่องจากหัวข้อของเราคือ 複合動詞 (Compound verb หรือ กริยาประสม) ชื่อมันก็บอกอยู่ว่าเป็นกริยาประสม เป็นการจับมือสานสัมพันธ์ระหว่างV1และV2ที่มาจากคนละบ้านกัน ชีวิตคู่มันก็มีหลายแบบ บางคู่ต่างฝ่ายต่างก็ยังคงเอกลักษณ์ของตนเอาไว้ แต่บางคู่กลับให้ความหมายที่โดดออกไปจากกริยาพ่อแม่เสียอย่างนั้น หากคิดจะประสมคำ จึงไม่ใช่แค่นำกริยาสองคำมาเชื่อมกันแล้วมโนความหมายเองได้ตามใจฉันนะเธอ เพราะงั้นมันถึงได้ยากไงล่ะ!

 ด้วยเหตุนี้ ปัจจุบันจึงมีเทคโนโลยีที่ราวกับเป็นพระมาโปรดนักเรียนภาษาง่อยๆ(อย่างเรา)เกิดขึ้นเยอะมาก

 เพื่อนๆ ปีสามที่ผ่านวิชาการอ่านเทอมต้นมา คงคุ้นเคยกับ NINJAL-LWP for TWC (NLT) เว็บรวมวิธีใช้คำภาษาญี่ปุ่นประมวลจากฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ตอันเป็นตัวช่วยขั้นเทพเวลาเขียนภาษาญี่ปุ่นกันดี และถ้าใครลงวิชา JP App Ling ของอ.กนกวรรณเทอมนี้ด้วย จะเห็นว่าอาจารย์ขายขอ---เอ้ย แนะนำเว็บตัวช่วยอีกเว็บซึ่งอยู่ในเครือเดียวกัน จริงๆ เครือนี้มันแตกหน่อแตกย่อยไปอีกหลายรูปแบบเลย ซึ่งจะยังไม่ขอพูดถึง เดี๋ยวจะงง เพราะเราก็งง๕๕๕๕๕๕อะไรเยอะแยะ เอาเป็นว่าเว็บนี้อาจารย์ได้แนะนำว่าเหมาะกับคนที่ศึกษา 複合動詞 ด้วย เป็นเว็บที่สร้างมาในลักษณะ Handbook คู่มือพกพา หน้าตาแบบนี้

 


 แต่ประเด็นที่เราจะกล่าวถึงในวันนี้ คือเราไปพบอีกเว็บหนึ่ง ซึ่งจริงๆ ก็อยู่ในเครือ NINJAL เหมือนกันนั่นแหละ แต่ตัวนี้พิเศษตรงที่สร้างมาเพื่อค้น 複合動詞 โดยเฉพาะ(โอ..!!!) ถ้าแฮนด์บุ๊คสีฟ้า น้องโดวชิก็อินเตอร์เฟซสีเขียวขจี ดังที่เห็นนี้





แล้วเจ้าสองเว็บนี้ต่างกันยังไง?

 มาดูระบบของทั้งสองเว็บไปพร้อมๆ กันดีกว่า

★☆★

 verbhandbook.ninjal หรือถ้าจะเรียกง่ายๆ อาจเรียกได้ว่าคู่มือเวิร์บ เป็นเว็บตัวใหม่ที่ NINJAL เพิ่งพัฒนา เพราะฉะนั้นฐานข้อมูลในตอนนี้จะยังน้อยอยู่ จากหน้าหลักพอกดเข้ามาจะเจอหน้ารายชื่อคำกริยา แบ่งตามหัวข้อ เช่นหน้าที่แคปมานี้จะเห็นว่ามี 位置変化動詞、接触・打撃動詞、発生・消滅詞 แลดูน่าตื่นตาตื่นใจ แต่เลื่อนลงมามีแค่นี้เหรอ ใช่ฮะ ตอนนี้ยังมีเท่านี้แหละ เพราะงั้นเลยยังไม่มีปุ่มเสิร์จเพราะไม่รู้จะเสิร์จไปทำไม๕๕๕

จะเห็นว่ามีหลายคำที่มีคำว่า NEW สีแดงกำกับอยู่ด้านหลัง เพราะยังอยู่ในช่วงอัพเดทนั่นเอง



 เหตผุลที่ว่าทำไมคำศัพท์ยังน้อย ต้องใช้เวลาพัฒนาเว็บขนาดนั้นเลยหรือ ลองคลิกเข้าไปดูสักคำแล้วจะถึงบางอ้อ...


 นี่คือหน้าตาอินเตอร์เฟซด้านในของคำว่า 行く ซึ่งแค่คำๆ เดียวเรียกได้ว่ามีทั้งรากคำ วิธีการใช้ ประเภทการใช้ การนำไปประสมกับคำหรือประโยคอื่นๆ พร้อมทั้งตัวอย่างประโยค และวิธีการนำเสนอที่ใช้ทั้งรูปภาพ ทั้งแผนภูมิ คลิกดูง่ายเข้าใจง่าย เรียกว่าสมชื่อ Handbook ละเอียดยิบจริงๆ 

 ถามว่าแล้วเกี่ยวข้องกับ 複合動詞 ตรงไหน ที่แถบสีฟ้าด้านขวา กดเลือกตรงนี้ฮะ 複合語

 เว็บจะแสดงผลให้ดูว่าคำที่เราเลือกสามารถทำเป็นรูป 複合 ได้ยังไงบ้าง มีทั้งคำกริยาและคำนาม เหมาะมากถ้าเราเริ่มค้นหาจากคำก่อนแล้วคิดจะต่อยอดหารูป 複合 ต่อ

 แต่..ก็นั่นแหละ ตอนนี้ฐานข้อมูลยังน้อย ดังนั้นขอเป็นกำลังใจให้ทีมพัฒนา จงอัพเดทมา..ให้ไว๕๕๕๕๕


★☆★

มาต่อกันที่อีกเว็บไซต์สีเขียวขจีดังขนมชั้นใบเตย ที่พูดเนี่ยคืออยากกิน

 vvlexitron.ninjal ดังที่กล่าวไปตอนต้นว่าเว็บนี้ไว้ค้น 複合動詞 โดยเฉพาะเลย ชีวิตเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ เกิดมาเพื่อฉันคนนี้!!! แค่ก.. จากหน้าหลักกดเข้าไปจะขึ้นหน้าจอแบบนี้ฮะ



 แถ่นแท้น อินเตอร์เฟซเข้าใจง่าย สีสันสวยงามสบายตาสมสไตล์ของ NINJAL จะเห็นว่ารายชื่อ 複合動詞 ทางด้านซ้ายเรียงเป็นตับเลย ซาบซึ้งใจนัก สามารถค้นหาจากทั้งคำ หรือจะเลือกจากV1ด้านหน้า โดยกดเลือก 前項同士から検索 แบบนี้






หรือจะหาจากV2 ที่ต่อท้ายด้านหลังก็ย่อมได้ จำพวก ~会う、~出す、~あげる ทั้งหลาย โดยกดเลือก 後項動詞から検索 แบบนี้




 ส่วนเวลาเสิร์จค้นหาคำ สามารถเสิร์จได้จากทั้งโรมาจิและฮิรางานะ จิ้มมาสักตัวเว็บก็จะแสดงผลการค้นหาให้เป็นพรืดแล้วฮะ เพราะฉะนั้นต่อให้ไม่มีฟ้อนต์ญี่ปุ่นก็เสิร์จได้สบายๆ





 ในเว็บมีการจัดแบ่งหมวดหมู่ให้เป็นอย่างดีเพื่อสะดวกต่อการค้นหา แบ่งเป็นสองหัวข้อใหญ่คือ 自他(ประเภทอกรรม/สกรรม) และ 語構造 (โครงสร้างภาษา) แล้วแต่ว่าเราจะเลือกค้นจากอะไร คลิปที่หัวข้อสีเขียวด้านบนถัดจาก 見出し ได้เลย


自他から検索→




語構造から検索→





 ลองจิ้มเข้าไปดูสักคำ ในที่นี้เลือก あふれ出す วิธีใช้จะปรากฏขึ้นในแถบด้านขวา


 ในหน้านี้จะบอกหมด ทั้งวิธีสะกดทั้งแบบปกติหรือแบบอื่นที่ใช้ได้ (ตรง 異表記) 
 - 自สีแดงนั่นคือบอกประเภทคำ เช่นคำนี้เป็น自動詞 ประเภทอื่นๆ มี 他動詞 และ 自動詞แบบ意志
 - ความหมายของคำ พร้อมโครงสร้าง N1 N2 เขียวๆ ที่เห็นนั่นคือเวลาใช้ในประโยคต้องใช้กับคำช่วยตัวไหน เช่นอันนี้ คำนามตัวแรกหรือประธาน ใช้が คำนามถัดไปใช้から คำนามถัดไปอีกใช้にหรือへ เป็นต้น
 - ตัวอย่างประโยค 
 - ด้านขวาเป็นโครงสร้าง ข้างบนจำเป็นคำกำกับว่านี่เป็นโครงสร้างอะไร อย่างคำนี้เป็น Vs形 ประเภทอื่นๆ มี VV, pV, V(一語化)
  * แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร ตอนนี้เรายังไม่สามารถอธิบายความแตกต่างได้อย่างชัดเจน แค่พอทำความเข้าใจได้คร่าวๆ อย่างเช่น VV เป็นVสองคำต่อกันมีน้ำหนักความหมายเท่าๆ กัน แต่Vsคือเป็นVย่อยต่อกับVหลัก ความหมายจะหนักไปทางVหลัก ประมาณนี้ เพราะยังไม่กระจ่างจึงยังไม่ขอลงรายละเอียดในส่วนนี้ฮะ

ไคลแมกซ์เลยคือ เห็นคำว่า NLB สีฟ้าตัวเล็กๆ ด้านบนไหมฮะ นั่นแหละจิ้มเข้าไปเลย

มันจะลิ้งค์ไปที่นี่ คุ้นตากันไหม

NINJAL-LWP for BCCWJ (NLB) ก็คือเว็บรวมคลังคำศัพท์พร้อมวิธีใช้นั่นเอง กด NLB ปุ๊บจะเข้ามาเจอหน้าจอนี้และสามารถดูว่าคำช่วยที่มีคนใช้บ่อยคือคำไหน ควรใช้อย่างไร เว็บ NLB คล้ายกับ NLT (ชื่อชวนสับสนเนอะ) ที่เคยพูดถึงตอนแรกของเอนทรี่เลยฮะ เป็นเว็บรวมคลังศัพท์เหมือนกัน ต่างกันตรงNLTสีเขียวอันนี้สีฟ้า...เอ้ย รู้สึกว่า NLT จะสร้างมาสำหรับภาษาเขียนโดยเฉพาะ เหมาะกับใช้เป็นตัวช่วยเขียน 作文 หรือ自己PR อะไรทำนองนี้มากกว่าฮะ


★☆★

 สรุปแล้วว่าเครือ NINJAL นี่มีบุญคุณกับเรามากจริงๆ๕๕๕ ตั้งแต่ที่เห็นเว็บ NLT ครั้งแรกก็คิดแล้วว่านี่มันยอดไปเลย... ใช้คู่กับดิคชันนารีแล้วช่วยชีวิตยามทำการบ้านได้มากขึ้นเยอะ(ฮา) เพียงแต่ทั้ง NLT และ NLB ผู้ใช้เองก็ต้องมีวิจารณญาณควบคู่ไปด้วย เพราะอย่างที่บอกว่าเว็บมันประมวลจากฐานข้อมูล "รูปประโยคที่มีผู้ใช้เยอะ" ไม่ได้แปลว่าจะเป็น "รูปประโยคที่ถูกต้อง" เสมอไป ผู้เรียนอย่างเราๆ จึงหวังพึ่งแต่ท่านนินแจลอย่างเดียวไม่ได้ ก็ยังต้องขวนขวายเรียนกันต่อไป(น้ำตา)

 แต่สำหรับการหา 複合動詞 เว็บขนมชั้นใบเตย lexitron.ninjal สามารถอำนวยความสะดวกให้เราได้อย่างมีประสิทธิภาพ เว็บยังอยู่ในช่วงพัฒนาเหมือนกัน ตอนนี้เลยมีบั๊กติดขัดบางจุดบ้าง (บางทีอาจจะเป็นเพราะคุณภาพเน็ตบ้านเราเอง๕๕๕) จึงต้องรอดูอัพเดทกันต่อไป



また会いましょう。
シロクマおじさん 

Wednesday, February 18, 2015

01 『専門でね(笑)』

สวัสดี วันนี้ เราจะมาอัพสิ่งที่ทุกคนอัพกันไปนานแล้ว๕๕๕๕๕๕๕๕๕

 เรื่องการอัพบล็อกไม่ใช่สิ่งใหม่ในชีวิตเท่าไร จริงๆ ก็เคยสร้างบล็อกเป็นตัวเป็นตนไว้นานมาแล้ว มาตอนนี้ความรู้สึกเหมือนได้กลับไปสัมผัสวันเก่าๆ ข้ามผ่านวันเวลามาหลายปี สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนไปเลยคือ--------ดองบล็อกยังไงก็ยังงั้น ฺฮา ..ฮือโอเค พอแล้วกลับเข้าฝั่งนะ

 ว่าด้วยタスク① ที่ต่อยอดมาจากกิจกรรม自己紹介ในคาบเรียน เนื้อหาภารกิจคือเขียน専門
ของเราซึ่งจะสนใจจริงๆ หรือเมคขึ้นมาก็ได้ 3-5 ประโยคแล้วนำไปโพสต์รอความกรุณาช่วยชี้แจงแก้ไขในเว็บ lang-8 ..เอ่อ ซึ่งรายละเอียดนี่ทุกคนคงเข้าใจดีกันอยู่แล้วเนอะ อื้ม คือคนอื่นเขาอัพกันหมดแล้วไง๕๕๕๕๕(น้ำตา)

 จริงๆ เคยโพสต์เจ้า研究นี่ลง lang-8 มาแล้วรอบนึง แต่รอบแรกออกจะจูนิเบียวหรรษาตามใจฉันไปหน่อย เห็นเพื่อนคนอื่นเขียนอย่างจริงจังมาก เป็นหัวข้อใช้จริงได้ทั้งนั้นเลย เอ้าไหนว่าแฟนตาซีแค่ไหนก็ได้ไง๕๕๕๕๕๕๕ โอเค เอาใหม่ก็ได้ เนื้อหาตามนี้ →


 เกี่ยวกับหัวข้อ 擬態語・擬音語 หรือถ้าให้เข้าใจงายๆ ก็ オノマトペ นั่นแหละ ที่จริงเคยใช้เป็นหัวข้อเขียน Study plan ในวิชาการเขียนญี่ปุ่นปีที่แล้ว แต่ตอนนั้นเน้นเรื่องว่า "รูปร่าง" ของอักษรเสียงพวกนี้ที่ใช้ในการ์ตูนนั้นส่งผลต่ออารมณ์เวลาอ่านอย่างไร ประมาณว่ามีอิมแพคทำให้่ช่องคำพูดธรรมดามันไฮเทนชั่นขึ้นมาได้ แพทเทิร์นที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับอะไร ทำไมต้องเขียนในลักษณะนี้ อะไรทำนองนี้ 
 แต่ถ้าแบบนั้นในฐานะนักเรียนภาษาแล้วจะหาข้อมูลศึกษาเป็นรูปธรรมมันทำได้ยาก พอลองคิดใหม่อีกทีบวกกับสัปดาห์ก่อนในวิชา JP AV media เรียนเรื่อง オノマトペ จากมังงะเรื่อง進撃の巨人พอดี เกิดประเด็นถกกับเพื่อนว่า オノマトペของญี่ปุ่นเนี่ย.....มันอะไรของมัน(ฟะ)๕๕๕๕๕ บางคำถอดเสียงมาไม่ได้เซนส์ตรงกับภาษาชาวบ้านชาวช่องเขาซะเลย..! แต่ในเมื่อบ้านพี่เป็นเจ้าการ์ตูนฉันก็จำต้องเรียนเพื่อจะได้อ่านการ์ตูนบ้านพี่รู้เรื่องไงพี่ชาย!! ...ด้วยเหตุนี้จึงออกมาดังที่เห็น


 เพราะคึกไปแก้ภาษาไทยใน lang-8 ไว้หลายเอนทรี่หรือยังไงไม่รู้ โพสต์รอบนี้มีชาวญี่ปุ่นใจดีมาช่วยแก้ไขให้ถึงสามคนแน่ะ!

★☆★


 จากคุณคนใจดีคนแรก ส่วนที่เขาแก้มาให้ เราตั้งใจจะบอกว่าอักษรเสียงสไตล์ญี่ปุ่นเนี่ยพอไปเทียบกับการ์ตูนคอมมิคส์ของยุโรปหรืออเมริกาแล้วแตกต่างกัน ดูเหมือนว่าแค่คำว่า 和式 จะไม่ชัดเจนพอเลยต้องมี 日本 กำกับลงไปด้วย ซึ่งจริงๆ แล้วคำว่า 和式 นั้นเราไม่แน่ใจนักว่ามันมีใช้จริงๆ ไหม แต่ลองพิมพ์มาเพื่อที่ถ้ามันผิดจะได้ทำความเข้าใจใหม่
 ส่วนท่อนหลังก่อนคำว่า ・・・が異なり อ่านแล้วงงๆ ไม่แน่ใจว่าเผลอใส่แก้มาผิดหรือเปล่า อาจจะบอกว่าให้เปลี่ยนจาก が เป็น は แต่ลืมลบหรือขีดฆ่าตัว が ของเราออกหรือเปล่าอะไรแบบนี้  


                   ★☆★



 มาต่อที่คุณคนใจดีคนที่สอง มีปัญหาคล้ายๆ กันตรง 和式 หรือว่ามันจะไม่มีใช้จริงๆ ๕๕๕ ของคนนี้มีเพิ่มคำว่า 独特 ที่หมายถึง uniqueness เป็นความหมายที่เราต้องการ แต่คลังคำตันสนิทไม่รู้จำใช้ศัพท์ว่าอะไรดี ขอขอบคุณคนใจดีคนนี้มากค่ะ TvT)"
  ส่วนรูปประโยค คุณคนนี้ตัด 異なり ออกไปเลย ใจความก็จะเป็น พอเทียบกับคอมมิคทางยุโรคหรืออเมริกาแล้ว อักษรเสียงในภาษาญี่ปุ่นนั้นมีความเป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจ ซึ่งเป็นการทำให้ประโยครวบรัดขึ้นโดยไม่ต้องใส่คำว่า "แตกต่างกัน" เข้ามาก็ได้
 ในประโยคสุดท้าย ไวยากรณ์ ので ง่ายๆ เลยนี่แหละ แต่ใส่แล้วฟังดูสุภาพเป็นผู้เป็นคนกว่าจริงๆ คือตอนเราโพสต์เรารีบด้วยเพราะห้องคอมคณะกำลังจะปิด(ฮา) คิดไม่ทันว่าจะจบประโยคยังไงดีเลยออกมาสั้นๆ ลวกๆ 持って研究したい ดังที่เห็น    



★☆★


 คุณคนใจดีคนที่สาม ก่อนอื่นขอตื่นเต้นแป๊บ ดูคอมเม้นท์เขาสิพี่ชาย ยูแคนไรท์เวรี่กุ้ดเจแปนนีสดัตเต๊ะ ยังกับไม่มีใครชมแบบนี้มานานแล้ว๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕ ตั้งแต่เข้าคณะนี้มา...

 แค่ก โอเค เริ่มจากประโยคแรก เขาบอกว่าถ้าใส่ 私 เข้ามาก่อนด้วยจะเป็นธรรมชาติมากกว่า นั่นคงหมายถึงจะใส่หรือไม่ใส่ก็ไม่ซีเรียส แต่กรณีนี้ใส่แล้วเหมาะสมกว่า ส่วนตัวคิดว่าพอใส่ประธานเข้ามาด้วยมันให้อารมณ์จะไป 発表 มากกว่าเป็นภาษาเขียน แต่ถ้าต้องใช้ฟอร์มนี้เวลา 自己紹介 ใส่ 私 ก่อนก็อาจดูเป็นธรรมชาติกว่าจริงๆ 
 จากคอเร็กชั่นของคนนี้ ได้ข้อพิสูจน์แล้วว่า เจ้า和式เนี่ยคนทั่วไปเขาไม่ใช้กัน๕๕๕๕๕ ต่อให้มันมีจริงๆ ในมิติไหนขึ้นมา แต่เราไม่ใช้ดีกว่า เพื่อความปลอดภัย...
 คนนี้แก้ใหม่จาก 唯一 เป็น 独特 เหมือนกัน จึงค่อนข้างแน่ใจได้ว่าคำนี้ใช้ได้ปลอดภัย 
 ประโยคสุดท้าย อัพระดับจากไวยากรณ์อนุบาลขึ้นเยอะเลยขอบคุณค่ะ๕๕๕๕๕ 



★☆★

ประมวลการแก้ไขจากคุณคนใจดีทั้งสามคน ลองเรียบเรียงออกมาใหม่ได้ดังนี้

『切手と申します。 私は今日本語の漫画や小説などのメディアにおける擬態語・擬音語について研究しています。ヨーロッパや米国のコミックスに比べると、日本ではの擬態語・擬音語が異なり、独特で面白いと思います。なぜこのような擬態語・擬音語を使っている興味があるため、由来と考え方について研究したいと思います。』

★หมายเหตุ★
 ในบรรดาทั้งสามคน แก้เรื่อง 和式 ให้เป้น 日本 ทั้งหมด มีเพียงคนที่สองที่ใช้ 日本語 ซึ่งเราพูดถึงอักษรเสียงในการ์ตูนของที่ต่างๆ ไม่ได้พูดถึงตัวภาษา จึงคิดว่าใช้ 日本では ตามแบบคนที่สามจะเหมาะสมที่สุด


________________________________________

お・ま・け

 ดังที่บอกไปตอนต้นว่า..โพสต์研究ลงlang-8ไปสองรอบ ไหนๆ ก็เคยโพสต์ไปแล้วและมีคุณคนใจดีมาแก้ให้เช่นกันเลยเอามาแปะเล่นขำๆ 

 แรงบันดาลใจได้จากอะไร...ใครล่วงรู้ตอบได้ก็......เงียบๆ ไว้



 แก้คำตกกับคำเชื่อมนิดหน่อยไม่มีอะไรมาก ไม่รู้ว่าเป็นเพราะโพสต์ดึกไปหน่อยเลยไม่ค่อยมีคนเห็นหรือเปล่า แต่มีคนมาแก้คนเดียวเลยไม่ได้ข้อเปรี่ยบเทียบ พิจารณาแล้วคิดว่าเอามาแปะเป็นโอมาเกะนี่แหละ ไม่ใช่เพราะละอายในความป่วยดาบกะทะหันแต่อย่างใด...


เอาล่ะ เอนทรี่หน้าจะตั้งใจอัพเนื้อหาให้ตรงกับ目的ที่ตั้งไว้แล้วค่ะ(ฮือ)